สาระน่ารู้
ประวัติคามเป็นมาเกาะหมาก
ความเป็นมา 'เกาะหมาก'เกาะหมากมีพื้นที่เกือบ
9,000 ไร่ มีเจ้าของเป็นทายาทของตระกูล “ตะเวทีกุล"
เพียงตระกูลเดียวจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 100 ปีเศษ
ทั้งนี้ นายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล เจ้าของเกาะหมากรีสอร์ต ผู้เป็นทายาทรุ่นที่ 4
โดยมีหลวงพรหมภักดี (นายเปลี่ยน ตะเวทีกุล) ผู้มีศักดิ์เป็นคุณชวด
เป็นผู้เข้ามาครอบครองเกาะหมากเป็นคนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยซื้อจากเจ้าของเดิมชื่อเจ้าสัวเส็ง
ปลัดจีนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งเข้ามาจับจองทำสวนมะพร้าวไว้ในราคา 300 ชั่ง (ชั่งละ 80
บาท )
หลวงพรหมภักดีขณะนั้นเป็นปลัดจีนอยู่ที่จังหวัดประจันตคีรีเขตร์
(เกาะกง ของกัมพูชาในปัจจุบัน) ขณะนั้นเป็นของไทยอยู่ แรกทีเดียวได้ส่งบุตรชาย 3
คนมาทำสวนมะพร้าวอยู่ก่อน คือ นายอู๋ นายเอิบ และนายอาบ ตะเวทีกุล
ต่อมาเมื่อไทยเสียเมืองตราด หมู่เกาะต่างๆ
รวมทั้งเมืองประจันตคีรีเขตร์ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี
หลวงพรหมภักดียังคงทำมาค้าขายอยู่ที่เกาะปอ เมืองประจันตคีรีเขตร์ หลวงพรหมภักดีจนกระทั่งอีก
6 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2453 จึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่เกาะหมาก
ทำสวนมะพร้าวขนาด 3,000-4,000 ไร่
และสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณอ่าวสวนใหญ่ซึ่งมีหาดทรายอันสวยงาม
มองเห็นเกาะข้างเคียงได้ชัดเจน เรียกกันว่า บ้านสวนใหญ่
หลวงพรหมภักดีได้แต่งงานกับนางมู่ลี่
มีบุตร 7 คน ธิดา 4 คน รวม 11 คน และต่อมาแต่งงานกับนางทิม มีบุตรชายอีก 1 คน
เมื่อบุตรสาวโตขึ้นแต่งงานไปใช้นามสกุลของฝ่ายชาย
ฝ่ายชายสืบตระกูลตะเวทีกุลมาถึงปัจจุบัน 5-6 ช่วงอายุคนแล้ว
เมื่อสิ้นหลวงพรหมภักดี ปี พ.ศ. 2458 สวนมะพร้าวและที่ดินทั้งหมดบนเกาะถูกแบ่งเป็นมรดกให้ลูกๆ หลานๆ ทายาทของหลวงพรหมภักดี ซึ่งในยุครุ่นลูกนี้เองได้มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกเป็นจำนวนนับ 1,000 ไร่ และมีการสร้างโรงบ่มยางขึ้นภายในบริเวณบ้านสวนใหญ่ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพื้นที่ เกาะหมาก ทั้งหมด 9,500 ไร่ เป็นที่สาธารณประโยชน์ 500 ไร่ ที่เหลือ 9,000 ไร่ล้วนแต่เป็นของพี่ๆ น้องๆ ในสายตระกูลตะเวทีกุลเพียงตระกูลเดียวเท่านั้น มีบ้างเล็กน้อยที่ขายให้คนต่างถิ่นที่มาลงทุนสร้างรีสอร์ตแต่เป็นส่วนน้อยมากกรุณาใส่ข้อความ …